เทสโก้ โลตัส กับอนาคตสีเขียว หลังรวมกิจการซีพี

 

หลังจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ไฟเขียวให้กลุ่มซีพีควบรวมกิจการของเทสโก้ โลตัส โดยมีเงื่อนไขหลายประการ ซึ่งมีการวิเคราะห์กันอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบเชิงบวก ทั้งในแง่ของการรักษาสภาพการจ้างงานให้คงอยู่ การดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของผู้บริโภคและคู่ค้า โอกาสสำหรับสินค้าชุมชนที่จะมีช่องทางการตลาดมากขึ้น รวมถึงโอกาสของสินค้าไทยที่จะได้ไปวางขายในตลาดต่างประเทศ

 


อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมาล้วนเป็นเรื่องทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือดิสเคาน์สโตร์ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีส่วนในการก่อมลพิษ และสร้างภาวะโลกร้อน จากการพึ่งพาระบบโลจิสติกส์และเครือข่ายการกระจายสินค้าในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจค้าปลีกจึงควรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ที่ลดการปล่อยของเสียและประหยัดการใช้ทรัพยากร โดยบทบาทของการจัดหาสีเขียวของธุรกิจค้าปลีก ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าโดยตรง จะอยู่ในรูปแบบของการจัดหาผลิตภัณฑ์จากซัพพลายเออร์ที่ทำการออกแบบและมีกระบวนการผลิตสีเขียว

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 เทสโก้ โลตัส ได้ตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของเทสโก้ โลตัส ลงอย่างน้อย 50% ภายในสิ้นปี 2563 ซึ่งตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เป็นครึ่งทางของ “เส้นทางสีเขียว” ของเทสโก้ โลตัส ที่สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจได้ถึง 30% ผ่านนวัตกรรมต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน

 


อีกด้านหนึ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มซีพีก็ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจเข้าสู่ยุคธุรกิจสีเขียว โดยคณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้นำองค์กรประกาศจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ ในการมุ่งสู่การเป็นองค์กร Zero Waste และ Zero Carbon ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของเครือฯ ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 12 เป้าหมายหลัก ตาม SDGs ขององค์การสหประชาชาติ โดยได้ประกาศนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมไปถึงบริษัทย่อยอื่น ๆ ในเครือฯ  รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่า 

 

ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า หลังจากเทสโก้ โลตัส เปลี่ยนมือเจ้าของ จากสหราชอาณาจักรกลับมาอยู่กับเครือซีพีอีกครั้ง จะนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาสานต่อ และจะเป็นโอกาสใหม่ในการปรับปรุงกระบวนการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว เพิ่มเติมจากฐานเดิมที่ทั้งเทสโก้ โลตัส และเครือซีพี ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างความยั่งยืนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

 


งานวิจัยยังพบอีกว่า หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานสีเขียวคือ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ที่มีความเข้าใจในความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ตัวอย่างจากกรณีของ Walmart, Amazon, เครือเจริญโภคภัณฑ์ และเอสซีจี ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูขององค์กรที่ต่างตระหนักรู้และผลักดันความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างคนในองค์กร และสมาชิกอื่น ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยกัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งาน "Thailand's Best Local Product สุดยอดสินค้า หลากหลายทั่วไทย หาได้ในที่เดียว"

ซีพีมุ่งมั่นฟื้นฟูน่านสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หนุนปลูกถั่วมะแฮะ เตรียมปั้นสตอรีกาแฟ "น่านเบลนด์" รสชาติที่ต้องลอง